วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551


วัฒนธรรมการไหว้ครูของคนเมืองในภาคเหนือถือได้ว่าเป็นประเพณีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านจิตใจและทางพิธีกรรม

การไหว้ครูที่น่าสนใจคือการไหว้ครูในพิธีพุทธาภิเษก การไหว้ครูดาบ การไหว้ครูซอ การไหว้ครูฟ้อนรำและการไหว้ครูในพีธีกินอ้อ

* การไหว้ครูในพิธีพุทธาภิเษก
การไหว้ครูในพิธีพุทธาภิเษกเป็นพิธีกรรมที่เกิดจากการอบรมสมโภชพระพุทธรูปใหม่ ซึ่งในพานสำหรับใส่เครื่องพลีกรรมขนาดใหญ่

ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ได้แก่เบี้ย 1,003 เบี้ย ผ้าขาว 1 ฮำ ผ้าแดง 1 ฮำ เทียนเล่มบาท 1 คู่ เทียนเล็ก 4 คู่ พลู 4 กรวย หมาก 9 ขด เสื่อ 1 ผืน

น้ำ 1 ใบ ข้าวเปลือก 10 ลิตร ข้าวสาร 10 ลิตร มะพร้าว 1 คู่ กล้วย 1 เครือ อ้อย 1 ลำ เงิน 300 บาท (หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับฐานะของบุคคล)
คำไหว้ครูในพิธีพุทธาภิกเษกมีหลายแบบด้วยกัน อาจจะแตกต่างกันบ้างในด้านรายละเอียด แต่มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน คือการอัญเชิญ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาอำนวยอวยชัยดังตัวอย่าง
“ วันทิตวา อาจริยปทัง อันตรายาวินาสันติ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาภัง สิทธิอริยา ตถาคโต สิทธิเตโช นิรันตรัง สิทธิพุทธัง สิทธิธัมมัง

สิทธิสังฆัง ปสิทธิเม ตรีนิสิงเห สัตตนาเค ปัญจพิสสนุ กัญเจวะ สัพพะกัมพา ฉวราชา เอกอินทา เอกยักขา ยาเทวา ปัญจพรหมา สหัตเถราชา

ปัญจพุทธา นมามิหัง สิโรเม พุทธเทวัญจ นราหัตเถ พิสสนู กัญเจวะ สัพพะกัมมา ปสิทธิเม ข้าพเจ้ากราบพระบาทของพระอริยะ ขออันตราย

ต่าง ๆ จุ่งอย่าได้มี กิจการงานโชคลาภด้วยเดชพระตถาคต จุ่งประสิทธิ์ประสาทแก่ตัวข้าพเจ้าไจ้ ๆ ราชสีห์ 3 ตัว พระยานาค 7 ตัว

พระพิษณุ 5 ตน พระอินทร์อันเป็นใหญ่บนชั้นฟ้าสวรรค์และพระพรหม 16 ชั้น ยักษ์ 1 ตัว เทวดา 9 องค์ พระพรหม 5 พระราชา พระอรหันตา

พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ จุ่งประสิทธิ์ประสาทหื้อการงานสำเร็จไปด้วยดี ข้าพเจ้ากราบไหว้พระพุทธ เทวดาและพระพิษณุด้วยหัวแห่งข้า

ขอกรรมทั้งหลายทั้งมวลการงานทุกอย่างจงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ ”

*การไหว้ครูดาบ
การไหว้ครูดาบเป็นการไหว้ครูผู้สอนวิชาการฟ้อนดาบ การฟันดาบ รวมไปถึงอาวุธต่าง ๆ

เช่นไม้หรือมือเปล่า ซึ่งเป็นเชิงการต่อสู้ การไหว้ครูจะทำกันวันพฤหัสบดีเพราะถือว่าเป็นวันครู

คือคุรุวารส่วนเวลาที่จะทำพิธีไหว้ครูนั้นต้องเป็นตอนเช้าตั้งแต่ 16.00-12.00 น. ไม่ทำในตอนบ่าย

โดยมีเครื่องพลีกรรมประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ กรวยดอกไม้ 12 กรวย เทียนขี้ผึ้งเล็ก 12 เล่ม

น้ำส้มป่อย กล้วยน้ำว้า 1 เครือ มะพร้าว 1 ทะลาย หัวหมู 1 หัว ผ้าแดง 1 วา หมากแห้ง 12 ไหม

ธูป 12 ดอก ขนมหวาน 1 ชุด เงินค่าไหว้ครู 36 บาท

เมื่อจัดเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วอาจารย์จะให้ศิษย์จุดธูปเทียนแล้วกราบสามหนว่านโม 3 จบและกล่าวคำไหว้ครูดังนี้

“ สาธุ สาธุ ข้าแต่ครูบาอาจารย์ ครูเค้า ครูปลาย ครูตาย ครูยัง ตนที่ข้านับถือบัดนี้ข้าอันเป็นลูกศิษย์ลูกหาของครูบาอาจารย์ชื่อ.....

(ระบุชื่อครูอาจารย์ผู้สอน) และได้นำมาขึ้นครู ขอครูบาอาจารย์จุ่งรับรู้ไว้เอาเป็นลูกศิษย์ลูกหาของครูอาจารย์ต่อไปและข้า

จะนำวิชานี้ไปใช้ในทางที่ดีที่ชอบ ถ้าหากว่าข้านำวิชานี้ไปใช้ในทางที่ไม่ดีไม่ชอบขอหื้อมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา

ลุกหือเป็นหอกออกหื้อเป็นลวงเป็นลายโอม สวาหะ (กล่าว 3 ครั้ง) ”
การไหว้ครูในแต่ละครั้ง ครูจะเป่าลงในขันน้ำส้มป่อยทุกครั้งเสร็จแล้วจึงให้ลูกศิษย์

กราบ 3 หน จากนั้นจึงนำน้ำส้มป่อยไปประพรหมอาวุธเครื่องใช้เช่น ดาบ ง้าว ดั้ง โล่ เขน

ที่แต่ละคนเลือกเรียนก่อนที่จะเล่าเรียนวิชารำดาบหรือการฝึกใช้อาวุธต่าง ๆ นั้น

ผู้เป็นครูอาจารย์จะให้ลูกศิษย์กล่าวคำสาบานหรือปฏิญาณตนเพื่อนำวิชาไปใช้

ในทางที่ถูกต้องดังนี้
“ สาธุ สาธุ " ข้าแต่ครูบาอาจารย์ตนที่ข้าพเจ้านับถือบัดนี้ข้าพเจ้าได้มาขอขึ้นครูกับครูบาอาจารย์แล้วจะขอหื้อคำสาบานต่อครูบาอาจารย์

ว่าข้าพเจ้าจักเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นผู้ประสิทธิ์ประศาสน์วิชา ....(ระบุชื่ออาวุธหรือเชิงที่เลือกเรียน) แก่ข้าพเจ้าในครั้งนี้

ข้าพเจ้าจักไม่นำเอาวิชาการฟ้องรำดาบและป้องกันตัวนี้ไปเที่ยวสั่งสอนผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด แม้แต่ญาติพี่น้องของข้าพเจ้า ถ้าหากข้าพเจ้า

บ่เชื่อฟังและบ่ปฏิบัติตามคำสาบานที่หื้อไว้นั้น ขอหื้อข้าพเจ้าได้รับอันตรายจากคมหอกคมดาบและคมศาสตราวุธทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้แสดง

นี้ทุก ๆ ครั้งไปและขอหื้อวิชาการจงเลือนหายไปจากความทรงจำของข้าพเจ้าแต่ทว่าถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติและกระทำตามขอหื้อข้าพเจ้า

จงพลันสำเร็จ ตามเจตจำนงที่ข้าพเจ้าจงพลันสำเร็จ ตามเจตจำนงที่ข้าพเจ้าได้ตั้งเป็นเป้าหมายไว้และขอหื้อการแสดงของข้าพเจ้า

จงเป็นที่ประทับจิตประทับใจแก่คนทั้งหลายด้วยเทอญ ”
* การไหว้ครูซอ
ซอ คือศิลปะการขับร้องชนิดหนึ่งของล้านนา คล้ายกับหมอลำหรือพ่อเพลงแม่เพลง

ของภาคกลางและภาคอีสาน การไหว้ครูซอนิยมทำกันในวันข้างขึ้นเดือน 9 เหนือ ตรงกับ

เดือน 7 ของภาคกลาง ประมาณเดือนมิถุนายน โดยมีเครื่องพลีกรรมประกอบด้วยสิ่งต่างๆ

ดังนี้ กรวยดอกไม้ธูปเทียน 16 กรวย กรวยหมาก พลู 16 กรวย กระทงข้าวเปลือก 1 กระทง

กระทงข้าวสาร 1 กระทง ผ้าขาว 1 วา ผ้าแดง 1 วา กล้วย 1 เครือ มะพร้าว 1 ทะลาย

หัวหมู 1 หัว ไก่ปิ้ง 2 ตัว ไก่ต้ม 2 ตัว เหล้า 1 ไห ข้าวสุก 1 กระติ๊บ น้ำส้มป่อย 1 ขัน

และเครื่องดนตรีประกอบการซอมี ปี่ ซึง สะล้อ ขลุ่ย คำไหว้ครูซอมีว่า

“ สาธุ สาธุ ข้าแต่พ่อครูเฒ่า แม่ครูเฒ่า ครูเค้า ครูปลาย ครูตาย ครูยัง บัดนี้ข้าพเจ้า ....(ระบุชื่อลูกศิษย์) ได้นำมายังเครื่องสักการบูชา


ทั้งหลายมวลฝูงนี้เพื่อจักมาคารวะไหว้สายังบุญคุณพ่อแม่ครูเจ้าที่ได้ฝึกได้สอนมาตั้งแต่ปถมะแรกเค้ามาตราบต่อเท่าถึงได้เป็นช่างซอ ช่างปี่


ได้รับการตี๋เติ๋นผ่อคอย ประดุจดังพ่อแม่ ปู่ ป้า ลุง ตา ท่านหากมีบุญอันอนันตาหาที่สุดบ่ได้ ผู้ข้าขอน้อมไหว้วันทา ขออัญเชิญพ่อครูแม่ครู


ทั้งหลายมารับเอายังเครื่องพลีกรรมบูชาแล้ว ขอมาสังพิทักษ์รักษายังตนตัวแห่งผู้ข้าหื้อปราศจากอุปัทวะกังวลอนทรายทั้งมวล


แล้วหื้อจำเริญด้วยกายิกสุขเจตสิกสุขไปชุวันชุยาม ผู้ข้าจักเอาคำซอทั้งหลายหื้อเป็นปัจจัยแห่งความสนุกสนาน ม่วยงัน


ขอหื้อมีปฎิญาณโวหารฉับพลันเฉลียวฉลาดสามารถตอบโต้ กล่าวกลอนเจี้ยแจ้งแถ้งผญาปัญญากล้าคมแท้ อย่าให้แพ้แก่ศัตรู


แดเทอะ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาภัง สิทธิมหาสุขัง สิทธิทายสัง อายุวัณณัง สุขัง พลัง สทาโสตถี ภวตุเม ”


หลังจากที่เรียนวิชาสำเร็จแล้วจะมีการแบ่งครูซอโดยลูกศิษย์จะเตรียมเครื่องพลีกรรมอย่างที่จัดเตรียมไว้


ในตอนเริ่มเรียนนั้นมาขอแล่งครูจากอาจารย์ผู้สอนวิชนาให้โดยครูจะกล่าวโวหารว่าดังนี้ “ ต่อไปขออาราธนา


พ่อครูเฒ่า แม่ครูเฒ่า ครูเค้า ครูปลาย ครูตาย ครูยัง ได้ไปอยู่กับ ....(ระบุชื่อลูกศิษย์) ขอหื้อไปขุมขางรักษายัง


ตนตัวเขา หื้อพ้นจากภัยยะ อุปัทวะกังวลอนทรายทั้งหลายแล้วหื้อวุฒิจำเริญสืบไปภายหน้า ธุวัง ธุวัง แด่เทอะ


”เมื่อกล่าวคำแบ่งครูเสร็จแล้วจึงแบ่งเครื่องพลีกรรมออกเป็นสองส่วนไว้ที่อาจารย์ส่วนหนึ่งและลูกศิษย์นำไป


ส่วนหนึ่งครั้งเสร็จพิธีแล้ว ครูจะตามไปส่งลูกศิษย์ถึงที่อยู่และลูกศิษย์จะเลี้ยงต้อนรับครูที่บ้านของตน


* การไหว้ครูฟ้อนรำ


การฟ้อนรำของล้านนามีหลายประเภทเช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเชิงเป็นต้น การไหว้ครูฟ้อนรำมีเครื่องพลีกรรม

ดังนี้ บายศรีปากชาม 2 สำรับ ซ้าย-ขวา หัวหมู่ 2 หัว ดิบ-สุก เหล้า 1 ไห ฝิ่น 2 สำรับ ซ้าย-ขวา กัญชา 2 สำรับ ซ้าย-ขวา ผักยำ 2 สำรับ

ซ้าย-ขวา ปลายำ 2 สำรับ ซ้าย-ขวา ปลาช่อนสด 2 ตัว อาหารคาว-หวาน มะพร้าว ตาล กล้วย อ้อย ผลไม้ นม เนย ดอกไม้ รูปเทียน

หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม หัวพระฤาษี ขันน้ำมนต์และตลับแป้งสำหรับเจิมหน้าลูกศิษย์เมื่อจัดเครื่องสิ่งของที่จะใช้ในพิธี

ีเสร็จแล้วลูกศิษย์จะกล่าวคำไหว้ครูดังนี้ “ ข้าเจ้ามาขอเป็นลูกศิษย์ของ....(ระบุชื่อครูบาอาจารย์) ขอพ่อครูแม่ครูเจ้าจุ่งมีเมตตากรุณา

สั่งสอนข้าเจ้าในศิลปะการฟ้อนรำนี้ จนสำเร็จได้งดงามดังแม่ครูเจ้าแลหากว่าข้าเจ้านี้ได้มีความผิดเบาความคิดเรียนไม่เข้าใจ

ขอเพิ่งบุญได้ว่ากล่าวติเตียนหื้อสัมฤทธิ์แก่มโนภา ความปรารถนาของข้าเจ้าแด่เทอญ ”
เมื่อจัดเครื่องสิ่งของที่จะใช้ในพีเสร็จแล้วลูกศิษย์จะกล่าวคำไหว้ครูดังนี้ “ ข้าเจ้ามาขอเป็นลูกศิษย์ของ....

(ระบุชื่อครูบาอาจารย์) ขอพ่อครูแม่ครูเจ้าจุ่งมีเมตตากรุณาสั่งสอนข้าเจ้าในศิลปะการฟ้อนรำนี้ จนสำเร็จ

ได้งดงามดังแม่ครูเจ้าแลหากว่าข้าเจ้านี้ได้มีความผิดเบาความคิดเรียนไม่เข้าใจขอเพิ่งบุญได้ว่ากล่าวติเตียน

หื้อสัมฤทธิ์แก่มโนภา ความปรารถนาของข้าเจ้าแด่เทอญ ”

* การไหว้ครูพิธีกินอ้อ


การกินอ้อเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่มีจุดประสงค์คือต้องการให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ ได้สำเร็จ

หรือหากเป็นนักดนตรี ช่างซอและนักแสดงก็ให้มีฝีมือการแสดงที่ดี มีผู้นิยมชมชอบ การกินอ้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กินอ้อประหญา

โดยใช้ปล้องอ้อเป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำผึ้งที่เสกด้วยคาถาแล้วดื่มกิน เชื่อกันว่าผู้ที่ผ่านพิธีนี้แล้วจะทำให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม

มีความจำดีและเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งมีไหวพริบและเสน่ห์ในการแสดง โดยปกติกลุ่มผู้ที่นิยมกินอ้อประหญา

คือพระสงฆ์และหญิงชายที่ใฝ่เรียนรู้ทั่วไป ส่วนผู้ที่จำเป็นต้องผ่านพิธีนี้คือช่างซอหรือนักขับซอเพราะต้องการให้มีเสียงดีมีไหวพริบ

และเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังนั่นเอง การกินอ้อมประหญานิยมทำกันในวันพระญาวันคือวันเถลิงศกในช่วงสงกรานต์ โดยผู้ที่ประสงค์

จะกินอ้อต้องเตรียมปล้องอ้อขนาดเท่านิ้วนาง แต่บางตำราว่าเท่านิ้วชี้จำนวน 5 หรือ 7 กระบอก รวมทั้งดอกไม้ รูปเทียน น้ำผึ้ง 1 ขวด

เงิน 12 บาท เพื่อใช้สำหรับไหว้ครูหรือบูชาครูซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครูหรือหมอ พิธีนี้อาจจะเป็นพระสงฆ์หรือชาวบ้านที่ผ่านการถ่ายทอด

และรับคาถามาจากครูเสกอ้อแก่ผู้อื่นกินได้ เมื่อไหว้ครูเสร็จแล้ว หมอพิธีหรือครูจะเสกน้ำผึ้งแล้วเทใส่กระบอกอ้อให้กินโดยต้องกลั้นใจ

กินและขบกระบอกอ้อให้แตกคาปาก จากนั้นให้โยนกระบอกอ้อไปทางข้างหลังของผู้กิน แต่บางตำราว่าให้นำกระบอกอ้อนั้นไปทิ้งใน

แม่น้ำที่มีน้ำไหล เมื่อเสร็จพิธีแล้วหมอพิธีจะอวยชัยให้พร สำหรับถาคาเสกอ้อนั้นเรียกกันหลายอย่างคือ อ้ออรหันตา อ้อธัมม์

อ้อพระเจ้าอาจิณจำ อ้อนางสิบสองและอ้อความมัดรัก ดังตัวอย่างจากคาถาเสกอ้อนางสิบสองดังนี้
“ ในกาละวันนี้ก็เป็นวันดี ขออัญเชิญนางอิตถีผู้เลางามดีมีประหญาปัญญาวิสารทะองอาจ ฉลาดจบปิฏกะทั้งสาม ข้อหื้อ

นายคนงามเสด็จเข้าสู่เป็นเพื่อนฟูเจียรจาขอหื้อมีสติปัญญาอันเฉลียวฉลาดเป็นดั่งนักปราชญ์เจ้าตนทรงธรรม สัตตัง รัมมณัง

จุ่งหื้อมีคำปากหวานเรียงม่วน ลักขณะอ่อนอ้วนงามตา เหมือนดังจุฬาชานชนาถฉลาดด้วยทางค้าขาย รายท่องล้านเที่ยวเมือง

เสพงัน คันเฝ้าเจ้าเฝ้าท้าวพระญาใน 4 ทิศ 8 ทิศ จิตใจคนในโลกหลังก็หื้อมาอ่อนน้อมหน้ายินดี มิจฉาทิฏฐีก็หื้อมาอ่อนค้อมเอกฉันท์

รักแพงกันทุกค่ำเช้า เทวบุตรจุ่งมาปันการเถิงยามหลับและยามนอน จุ่งหื้อนางมาพลัน เถิงยามวันจุ่งหื้อนางมาพร้อม พลันคึดใจใฝ่ต้อง

หญิงชาย มนุษย์ไหวหวั่นรักทุกคำ อย่าลืมรักวันคืนค่ำเช้ารักต่อเท้ายาวชีวัง สัพพะลาภัง สัพพะธนัง อมนุสสานัง เอหิ อ่อง เจยตุ หุหู

พบพะสาหุม หงหง ”

อนึ่ง หากพิจารณาถึงการไหว้ครูในพิธีกรรมการกินอ้อประหญาแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นการใช้ทั้งพิธีกรรมและหลักจิตวิทยา

เพื่อให้ผู้ที่ผ่านพิธีนี้มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ในอันที่จะเล่าเรียนศิลปะวิทยาการให้สำเร็จตามความประสงค์ การกินอ้อประหญา

ทำกันมาช้านานแล้ว แต่ก็เสื่อมความนิยมลงไปในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเป็นที่น่ายินดีว่าในปัจจุบันพิธีกรรมการกินอ้อ

ได้รับการส่งเสริมขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งการไหว้ครูและการกินอ้อประหญานี้เป็นมรดกทางปัญญาที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งสมควรจะสืบทอด

ไว้มิให้สูญหายไป จากตัวอย่างของการไหว้ครูดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการยกย่องผู้เป็น “ ครู ” ได้เป็นอย่างดีและ

มรดกอันล้ำค่านี้สมควรอย่างยิ่งที่ผู้เป็น “ ศิษย์ ” จะรักษาไว้ทั้งนี้นอกจากจะเรียนวิชาเพื่อสืบทอดความรู้แล้ว ยังเป็นการดำรงไว้ซึ่ง

ประเพณีอันดีงามอีกส่วนหนึ่งด้วย



ที่มาของข้อมูล


ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว. 2551. "การไหว้ครูของคนเมืองเหนือ." รฤก (พฤษภาคม) : 30 -31.
.